การ วิ่ง ออกกำลังกายทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นกีฬาอะไรก็ตาม ล้วนแล้วจะต้องเจอกับอาการบาดเจ็บ ต้นเหตุมันมาจากเรื่องของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นเป็นสาเหตุหลักเลยค่ะ ที่ทำให้เราบาดเจ็บจากการวิ่งทุกวันนี้ เพราะกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นคนเรามันต่อเนื่องกันทุกส่วนนับเป็นหมื่นเป็นพันเส้น กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นเหล่านี้ เวลาทำงานจะเกิดการหดตัวและหย่อนสลับกันไป เพื่อเกิดแรงดึงในตัวกล้ามเนื้อนั้นๆ เกิดขึ้น กล้ามเนื้อแต่ละมัด จะประกอบด้วยใยกล้ามเนื้อเป็นเหมือนเส้นๆมารวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ โดยจะประกอบไปด้วยใยกล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นพัน / หมื่นเส้น กล้ามเนื้อเวลาจะไปเกาะที่ตัวกระดูกต่างๆ กล้ามเนื้อบางมัดจะเกาะด้วยตัวกล้ามเนื้อเอง บางมัดส่วนปลายของกล้ามเนื้อจะกลายเป็นเอ็น (Tendon) ก่อนที่เอ็นนั้นๆ จะไปเกาะตัวกระดูกอีกที่หนึ่ง ดังนั้นเมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ จะเกิดแรงดึงในกล้ามเนื้อหรือเอ็นที่ยึดกระดูก ก็จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในทิศทางต่างๆ ในขณะเดียวกันนักฟุตบอล นักเทนนิส หรือนักกีฬาระดับประเทศ ยังต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นดีขนาดนั้น ยังมีการบาดเจ็บได้ ในขณะแข่ง แล้วพวกเราล่ะ กับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อความท้าทายให้ชีวิตแล้ว จะต้องดูและกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นให้ดีไปด้วย แล้วเราไปทำอะไรกับกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นล่ะ ถึงได้มีอาการบาดเจ็บได้
1. วอร์มไม่ถึง:
การวอร์มเป็นการเตรียมความพร้อมให้กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น เพราะการวอร์มกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ดี จะช่วยให้ลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บได้ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ จะส่งผลดีทำให้ไม่เกิดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในขณะที่ วิ่ง เราสามารถวอร์มกล้ามเนื้อได้หลายวิธี แชร์ประสบการณ์แอดมิน จะรู้สึกได้ทันที เมื่อใดมีการวอร์มไม่ถึง ไม่นานพอ จะส่งผลให้วิ่งแล้วเหนื่อยได้ง่าย และบางครั้งอาจจะเกิดอาการบาดเจ็บตามหัวเข่า หรือข้อเท้าตามมาได้ มันเหมือนเครื่องยนต์ที่ยังไม่ได้ทำการวอร์ม แล้วก็ไปเหยียบคันเร่งแรงๆ ทั้งที่เครื่องยนต์ยังไม่พร้อมเลย ก็ส่งผลให้เครื่องยนต์เสีย ติดขัดในอนาคตได้ ร่างกายคนเราก็เหมือนกัน แนะนำให้ควรมีการวอร์มร่างกายอย่างน้อย 30-40 นาที เพื่อให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ยืดเหยียดไม่พอ:
การยืดเหยียดสำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องทำก่อน และหลังการออกกำลังกาย การยืดเหยียดทำให้ลดอุณหภูมิของของกล้ามเนื้อหลังจากที่ทำงานมาอย่างหนักแล้ว หรือลดอาหารเมื้อยล้า มีประโยชน์เพื่อให้ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นได้มีความยืดหยุ่นที่ดี และสามารถใช้ได้ในครั้งต่อไป ซึ่งแนะนำให้มีการยืดเหยียดอย่างน้อย 20-30 นาที เรื่องการยืดเหยียดนี่สำคัญมากๆ แชร์ประสบการณ์ของตัวเองว่าทุกครั้งเวลาวิ่ง หรือเวท วันไหนที่ยืดเหยียดไม่ดี รีบๆ ส่งผลให้วันรุ่งขึ้นมีอาการล้า และปวดเมื้อยตามขาทันที และวันไหนมีการยืดเหยียดอย่างดี และนานมากพอ วันรุ่งขึ้นไม่มีอาการล้า ปวดเมื้อยเลย เวลาวิ่งนานๆ กล้ามเนื้อคนเราจะมีการหดตัว ดังนั้น ลองคิดสภาพว่า เรายืดเหยียดไม่ดี มันจะทำให้เส้นเอ็นหดตัวยึดไปเรื่อยๆ จนกระทั่งที่เค้าบอกว่า “ขมวดเป็นปมแล้ว” ถ้าไม่คลายออกยังไงก็จะเจ็บอยู่ตลอด
ซึ่งการยืดเหยียดไม่ใช่ควรทำแค่คนออกกำลังกายเท่ากัน สำหรับคำที่ทำงานออฟฟิศ หรือนั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานานๆ ก็ควรจะต้องมีการยืดเหยียดด้วยเช่นกัน เพราะการนั่งนานๆ หรือทำพฤติกรรมอะไรเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นหดเกร็งตัวได้ ดังนั้น เมื่อรู้ตัวว่านั่นนานเกินไปกว่า 1 ชม. แล้วควรลุกขึ้นมายืดเหยียด เดินไปมาบ้างนะคะ
3. ไม่เคยเวท หรือเวท เทรนนิ่งไม่พอ:
การเวท เทรนนิ่ง เป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายทุกชนิด จะต้องใช้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นหลัก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Core Body (ช่วงกลางตัว สะโพก ต้นขา หัวเข่า) เพราะกล้ามเนื้อตัวนี้เป็นส่วนช่วยผลักดันทำให้เราวิ่งได้ดี หรือไม่ดีก็อยู่ที่ความแข็งแรงของแต่ละคนเลย หากว่ากล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ก็ย่อมส่งผลให้มีอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นในทุกส่วนได้เสมอ สำหรับคนที่เพิ่มเริ่มออกกำลังกายด้วยการวิ่งใหม่ๆ อาจมีคำถามทำไมวิ่งแล้วเจ็บหน้าเข้ง หัวเข่า ต้นหา ข้อเท้า ต้นเหตุมันก็มาจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยค่ะ เรื่องนี้ขอให้ความสำคัญกับมันอีกเรื่อง เพราะทุกๆ ครั้งที่เวลาเราจะต้องการวิ่งเร็วขึ้น แรงถีบมากขึ้น หรือต้องการ Uphill Downhill จะต้องใช้แรงจากกล้ามเนื้อทั้งนั้น
เรื่องราวเข้มข้น และมากมาย โปรดติดตามตอนที่ 2 ในวันถัดไปนะคะ